• Facebook Fanpage
  • Messenger
  • Line Official
  • Youtube Channel

เลือกภาษา

Thai Thai

ค้นหาข้อมูล

สื่อโซเซียลหน่วยงาน

เมนูหลัก

การป้องกันการทุจริต

การบริหารจัดการความเสี่ยง

สถิติผู้เยี่ยมชม

1072492
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทุกวัน
5324
1212
5324
1057977
29730
41874
1072492

Your IP: 18.119.119.191
2024-12-22 19:58

logo banphuedistrictเว็บไซต์ที่ทำการปกครองอำเภอบ้านผือ : www.banphuedistrict.go.th

banphuedistrict300564 1

แผนที่อำเภอบ้านผือ                               
map banphue

⇒ คำขวัญ:  แหล่งอารยธรรมภูพระบาท พระมหาธาตุเจดีย์ บารมีหลวงพ่อนาค  

                 หลายหลากพระเถระดีศรีบ้านผือ เลื่องลือวัฒนธรรมไทยพวน

พิกัดภูมิศาสตร์: 17°41′15″N 102°28′22″E

อักษรไทย       อำเภอบ้านผือ

อักษรโรมัน     Amphoe Ban Phue

จังหวัด อุดรธานี

พื้นที่

  ประชากร (2564)

  • ทั้งหมด ครัวเรือน 34815 ครัวเรือน ชาย 54612 คน หญิง 54957 คน

   รวมทั้งสิ้น 109,769 คน

  • ความหนาแน่น 92 คน/ตร.กม.

รหัสไปรษณีย์ 41160

รหัสภูมิศาสตร์ 4117

ที่ตั้งที่ว่าการ   ที่ว่าการอำเภอบ้านผือ ถนนชนบทบำรุง ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 41160

 ประวัติความเป็นมาอำเภอบ้านผือ

               จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีชุมชนโบราณซึ่งเป็นร่องรอยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคหินใหม่ต่อเนื่องถึงยุคโลหะกระจายอยู่ทั่วไปในอำเภอบ้านผือโดยมีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคืออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนั้น มีลักษณะทางธรณีวิทยาอยู่ในหมวดหินภูพานของหินชุดโคราช เป็นหินทรายสีเเดงของมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic) มีอายุตั้งเเต่ปลายยุคไทรแอสซิค (245 - 208 ล้านปี) – ครีเทเชียส (146 – 65 ล้านปี) จนถึงยุคเทอร์เชียรีของมหายุคซีโนโซอิค (65 – 5 ล้านปี) โดยชั้นหินทรายนี้วางตัวอยู่บนพื้นผิวของหินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนบน (286 - 245 ล้านปี)

               เพิงหินรูปร่างต่างๆที่พบในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนั้น เกิดจากการที่ชั้นหินทรายเเต่ละชั้นมีความคงทนต่อการกัดเซาะตามธรรมชาติที่เเตกต่างกัน   โดยหินทรายชั้นกลางเป็นหินทรายเนื้ออ่อนที่มีการจับตัวของผลึกเเร่ไม่เเน่น จึงสึกกร่อนจากการกัดเซาะได้ง่ายกว่าหินชั้นบนเเละชั้นล่างซึ่งเป็นหินทรายปนหินกรวดมน เนื้อเเน่นเเข็ง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดเพิงหินที่มีส่วนกลางคอดเว้าคล้ายดอกเห็ด หรือสึกกร่อนจนเหลือเพียงเสาค้ำตามมุมคล้ายโต๊ะหิน กลายเป็นประติมากรรมทางธรรมชาติที่สวยงามแปลกตามองดูราวกับว่าก้อนหินเหล่านี้ถูกยกขึ้นมาวางโดยมนุษย์

               จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า บริเวณพื้นที่เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 5,000-7,000 ปี       จากหลักฐานการค้นพบที่ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำที่อำเภอ บ้านผือ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศึกษาประวัติศาสตร์ และโบราณคดีระหว่างประเทศว่าชุมชนที่เป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์

               ก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สืบต่อมาอีกจนกระทั่งสมัยประวัติศาสตร์ของ ประเทศไทย นับตั้งแต่สมัยทวาราวดี (พ.ศ.1200-1600) สมัยลพบุลี (พ.ศ.1200-1800) และสมัยสุโขทัย (พ.ศ.1800-2000) จากหลักฐานที่พบคือใบเสมาสมัยทวาราวดีลพบุรี และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ที่ปรักหักพังบริเวณเทือกเขาภูพานใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบกอำเภอบ้านผือ

 ยุคก่อนประวัติศาสตร์

               จากการศึกษาลักษณะ และเนื้อหาสาระของภาพเขียนสีแล้ว ทำให้นักโบราณคดีมีความเห็นว่า ภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในประเทศไทยนั้น มีทั้งภาพการดำรงชีวิตด้วยการหาของป่าล่าสัตว์เเละภาพการทำเกษตรกรรม จึงน่าจะมีอายุในช่วงราว 3,000 – 2,500 ปีมาเเล้ว ซึ่งเป็นสมัยที่มนุษย์รู้จักการทำเกษตรกรรมเเละการทำเครื่องมือเครื่องใช้จากโลหะเเล้วยังปรากฏภาพเขียนสีที่พบบนภูพระบาทมีทั้งเเบบเขียนด้วยสีเดียว (Monochrome) คือสีเเดง เเละหลายสี (Polychromes) คือสีเเดง ขาว เหลือง ตัวภาพเเบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

             1. ภาพเสมือนจริง (ภาพคน, สัตว์, พืช, สิ่งของ)                                                     

             2. ภาพนามธรรม (ภาพสัญลักษณ์, ลายเรขาคณิต)

               สีที่นำมาใช้เขียนนั้น สันนิษฐานว่าเป็นสีที่นำมาจากวัตถุดิบธรรมชาติเช่น ดินเทศ แร่เฮมาไทต์ โดยอาจนำสีที่ได้นี้ไปผสมกับของเหลวที่มีคุณสมบัติเป็นกาว เช่น ยางไม้ เสียก่อนเเล้วจึงนำมาเขียน เพื่อให้สีติดกับเพิงหินทนนาน

ยุคประวัติศาสตร์

               สมัยทวารวดีพื้นที่บนภูพระบาท เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 หรือราว 1,400 – 1,000 ปีมาแล้ว ได้รับเอาวัฒนธรรมทวารวดีที่แพร่มาจากภาคกลางของประเทศไทย พร้อมกับคติความเชื่อทางพุทธศาสนา ทำให้เกิดการก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ เนื่องในพุทธศาสนาขึ้น ได้แก่ การตกแต่งหรือดัดแปลงเพิงหินให้เป็นศาสนสถาน โดยมีรูปแบบการติดตั้งใบเสมาหินทรายล้อมรอบเอาไว้

                สมัยเขมรต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 15 – 18 อิทธิพลศิลปกรรมแบบเขมร ซึ่งแพร่หลายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้เข้ามามีบทบาทในแถบนี้ ที่ถ้ำพระมีการตกแต่งสกัดหินเป็นรูปพระโพธิสัตว์และรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเขมร ที่วัดพระพุทธบาทบัวบานและที่วัดโนนศิลาอาสน์ ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับภูพระบาท มีการสลักลวดลายบนใบเสมาหินทรายเป็นเรื่องพุทธประวัติและชาดก ซึ่งมีลวดลายตามรูปแบบศิลปกรรมแบบเขมร

               หลังจากช่วงสมัยทวารวดีและเขมรผ่านไป ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 22– 23 วัฒนธรรมล้านช้าง ได้แพร่เข้ามาที่ภูพระบาท พบหลักฐานเป็นพระพุทธรูปเช่น  พระพุทธรูปที่ถ้ำพระเสี่ยง ส่วนด้านสถาปัตยกรรมพบหลักฐานที่วัดลูกเขย

               พื้นที่อำเภอบ้านผือเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สืบต่อมาอีกจนกระทั่งสมัยประวัติศาสตร์ของ ประเทศไทย นับตั้งแต่สมัยทวาราวดี (พ.ศ.1200-1600)         สมัยลพบุลี (พ.ศ.1200-1800) และสมัยสุโขทัย (พ.ศ.1800-2000) จากหลักฐานที่พบคือใบเสมาสมัยทวาราวดีลพบุรี และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ที่ปรักหักพังบริเวณเทือกเขาภูพานใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบกอำเภอบ้านผือ

               พุทธศักราช 2478 ราชบัณฑิตยสภาประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75วันที่ 8 มีนาคม 2478 ในขณะนั้นใช้ชื่อว่าพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ ตำบลเมืองพาน

               พุทธศักราช 2516 - 2517 คณะสำรวจโบราณคดี โครงการผามอง สำนักงานพลังงานแห่งชาติ ได้สำรวจแหล่งโบราณคดีในพื้นที่โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำเขื่อนผามอง เดินทางมาสำรวจพบแหล่งภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายแห่งบนภูพระบาท ซึ่งบางแห่งได้เคยสำรวจพบแล้วโดยหน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น พุทธศักราช 2524 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน    ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 98 ตอนที่ 63 วันที่ 28 เมษายน  2524  หน้า 1214 ระบุว่า “โบราณสถานพระพุทธบาทบัวบก ที่ภูพระบาท เนื้อที่ประมาณ 19,062 ไร่ ปรากฏว่า เนื้อที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง และจำนวนเนื้อที่ตามข้อเท็จจริงคือประมาณ 3,430 ไร่”

               อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทตั้งอยู่บนภูเขาที่ชื่อว่าภูพระบาท     ในเขตพื้นที่เมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน ซึ่งเป็นเทือกเขาหินทราย อยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดอุดรธานี มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางประมาณ 320 – 350 เมตร สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง มีพืชพันธุ์ธรรมชาติประเภทไม้เนื้อแข็งขึ้นปกคลุม

               หลักฐานที่พบบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พุทธบาทบัวบก ประกอบด้วย

                      ๑) พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่ภายในวัดพระพุทธบาทบัวบก เดิมเป็นภาพสกัดรอย รอยพระพุทธบาทบนลานหินธรรมชาติ ต่อมาได้สร้างรอยพระพุทธบาทจำลองทับไว้ภายในพระธาตุเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมแบบองค์พระธาตุพนม

                      ๒) พระพุทธบาทหลังเต่า ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นพระบาทสกัดลง ไปในพื้นหิน ใจกลางรอบพระบาทสลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจนและเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้หินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึง เรียกว่า พระพุทธบาทหลังเต่า

                      ๓) พระพุทธบาทบัวบาท ตั้งอยู่บนเนินเขาในตำบลเมืองพาน นอกจากพบพระพุทธบาทจำลองแล้วยังพบใบเสมาทรายสกัดเป็นรูปบุคคล  ศิลปะแบบทวาราวดีเป็นจำนวนมากอีกด้วย

                      ๔) ศาสนสถานที่ดัดแปลงจากโขดหินธรรมชาติ

                      ๕) ใบเสมาหินทราย

                      ๖) พระพุทธรูปและรูปเคารพแกะสลักหินทราย      

                      ๗)  ภาพเขียนสีที่ถ้ำคน ถ้ำวัวแดง ถ้ำลายมือ และถ้ำโนนสาวเอ้    

                      ๘) ขวานหินนอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญ เช่น คอกม้าบารส คอกม้าน้อย หอนางอุสา บ่อน้ำนางอุสา กี่นางอุสา วัดพ่อตา วัดลูกเขย ถ้ำนายอุทัย (ถ้ำห้วยหินลาด) ถ้ำพระ ถ้ำวัวถ้ำคน ถ้ำฤาษี ถ้ำพระเสี่ยง หีบศพนางอุสา หีบศพบารส ซึ่งแต่ละสถานที่ก็จะมีความสำคัญและเป็นสิ่งที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง

               นอกจากนี้ผู้คนในท้องถิ่นยังได้นำเอานิทานพื้นบ้านเรื่อง “อุสา – บารส” มาตั้งชื่อโบราณสถานที่ต่าง ๆ บนภูพระบาท การเที่ยวชมโบราณสถานบนภูพระบาทจึงควรต้องรู้เกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านเรื่องนี้ เพื่อจะได้เข้าใจที่มาของชื่อตลอดจนทราบถึงคติความเชื่อของชุมชนได้เป็นอย่างดี

               เนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวความรักอันไม่สมหวังระหว่างนางอุสา ธิดาของท้าวกงพาน กับท้าวบารส ซึ่งเป็นโอรสของเจ้าเมืองปะโคเวียงงัว โดยเรื่องราวเริ่มจากนางอุสาได้ทำการเสี่ยงทายหาคู่ ด้วยการทำมาลัยรูปหงส์ลอยไปตามลำน้ำ ซึ่งท้าวบารสเป็นผู้ที่เก็บได้ จึงออกตามเจ้าของมาลัยเสี่ยงทายนั้น จนมาถึงเมืองพานและได้พบกับนางอุสา ทั้งคู่ตกหลุมรักกัน เมื่อท้าวกงพานทราบเรื่องจึงวางอุบายให้มีการแข่งขันสร้างวัดกันภายในหนึ่งวัน โดยผู้ที่แพ้การแข่งขันจะต้องตาย ฝั่งท้าวบารสเสียเปรียบเพราะมีคนน้อยกว่าจึงใช้เล่ห์กลอุบายนำโคมไฟไปแขวนบนยอดไม้เพื่อลวงให้ฝ่ายท้าวกงพานคิดว่าเป็นยามเช้าตรู่แล้ว จึงพากันเลิกสร้างวัดและพ่ายแพ้ไปในที่สุด และถูกตัดศีรษะ หลังจากนั้นนางอุสาได้ไปอยู่กับท้าวบารสที่เมืองปะโคเวียงงัว แต่ก็ถูกกลั่นแกล้งจึงหนีกลับเมืองพาน ในขณะที่ท้าวบารสไปบำเพ็ญเพียรในป่าเพียงลำพัง ต่อมาเมื่อท้าวบารสทราบเรื่องจึงได้ออกเดินทางไปตามนางอุสา ณ เมืองพาน แต่พบว่านางอุสาได้สิ้นใจเพราะความตรอมใจไปก่อนหน้านั้นแล้ว ท้าวบารสเสียใจอย่างสุดซึ้งจึงตรอมใจตายตาม นางอุสาไป

สมัยทวาราวดีตอนปลาย-ลพบุรีตอน ต้นสมัยประวัติศาสตร์

               พบกลุ่มเสมาหินทราย จำหลักภาพบุคคลในลักษณะต่าง ๆ ปักเป็น ๘ ทิศ ปักซ้อนกัน ๒ หลัก บางหลักถูกทำให้ล้ม หลายหลักถูกดินทับถม มีจำนวนทั้งหมด ๓๑ หลัก เป็นศิลปกรรมสมัยทวาราวดีตอนปลาย-ลพบุรีตอนต้น สมัยประวัติศาสตร์สถานที่ตั้ง เทือกเขาภูพาน บ้านไผ่ล้อม ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานีประวัติความเป็นมาจากการศึกษากลุ่มเสมา และการจำหลักภาพขนาดของเสมา จำนวนเสมา น่าจะเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีความอุดมสมบูรณ์จึงสามารถสร้างศิลปกรรม ประติมากรรมหินทรายขนาดใหญ่และงดงามได้ สภาพของชุมชนคงจะได้ร้างไป ต่อมาชุมชนลาวล้านช้างในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชหนีศึกพม่า พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ได้เข้ามาตั้งชุมชนที่นี่ จึงมีศิลปกรรม สถาปัตยกรรมล้านช้างมากมาย เช่น มณฑปครอบรอยพระพุทธบาท พระพุทธรูปไม้ ฯลฯ และคงจะสร้างไป จนเมื่อเกิดศึกฮ่อ พวกลาวพวนจึงได้อพยพหนีศึกฮ่อมาตั้งชุมชนใหม่ สภาพชุมชนสมัยนั้นเป็นป่าดงดิบแล้ง มีไม้ที่มีค่าหนาแน่น เช่น ไม้มะค่า ไม้ตะเคียน ตะเคียนทอง ประดู่ ฯลฯ ลักษณะทั่วไปเป็นป่า มีเส้นทางทำการเกษตรของชาวบ้าน และขนพืชไร่ ผ่านใกล้กลุ่มเสมามาก

 สมัยกรุงศรีอยุธยา

               สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีปรากฎในประวัติศาสตร์ เมื่อราวปีจอ พ.ศ.2117 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมือง เวียงจันทน์และอยู่ใกล้กับอำเภอบ้านผือซึ่งอำเภอบ้านผือเป็นเขตสะสมซึ่งการยกทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชต้องผ่านเส้นทางช่องข้าวสารที่อยู่ในเขตอำเภอบ้านผือแต่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับไม่ต้องรบ พุ่งกับเวียงจันทน์และอำเภอบ้านผือนี้เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นชุมชนที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจและสมัยทราวดีถึงสมัยล้านช้าง

สมัยอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22

               พื้นที่ราบลุ่มน้ำโมงตอนกลางในเขตอำเภอบ้านผือยังพบศิลาจารึกอักษรไทยน้อย พ.ศ.2134 ที่วัดธาตุอุปสมาราม ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ ซึ่งระบุชื่อขุนนางว่า “ศรีพุมเวียงจันทน์” ด้วย  ทำให้สันนิษฐานว่าบริเวณที่ราบลุ่มน้ำโมงตอนกลางเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณเมืองพาน และถือเป็นชุมชนโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ที่น่าจะเกิดพัฒนาการความเป็นบ้านเป็นเมืองขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22จากการที่ได้ย้ายศูนย์กลาง

               การปกครองและเคลื่อนย้ายผู้คนครั้งใหญ่ในอาณาจักรล้านช้างชุมชนโบราณเมืองพานน่าจะเป็นชุมชนโบราณที่ไม่มีกำแพงเมืองหรือคูน้ำคันดินล้อมรอบ ศูนย์กลางของเมืองสันนิษฐานว่าน่าจะอยู่บริเวณบ้านเมืองพานและบ้านกาลึม ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

                   ในปัจจุบัน ได้พบเศษภาชนะดินเผาในลักษณะร่องรอยที่ตั้งชุมชนโบราณที่กระจายอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว สอดคล้องกับการสำรวจของกรมศิลปากรพบว่ามีร่องรอยชุมชนโบราณอยู่ในบริเวณบ้านใหม่เมืองพาน และมีรายงานการพบซากสิมหรือโบสถ์โบราณสมัยล้านช้าง และมีการขุดพบพระพุทธรูปสำริดที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 23 ที่บ้านกาลึมด้วย

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

               ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีนั้น อำเภอบ้านผือได้เกี่ยวข้องกับการศึกสงครามกล่าวคือในระหว่าง พ.ศ.2369- 2371 ได้เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีผู้นำคือคุณหญิงโม (ท้าวสุรนารี) กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภู และได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพเจ้าอนุวงส์แตกพ่ายไปหนีไปทางช่องข้าสารอำเภอบ้านผือ กระทั่งในปลายสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่4 ประมาณ พ.ศ.2411 ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นในมณฑลลาวพวน เนื่องมาจากพวกฮ่อซึ่งกองทัพไทยได้ยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบได้ชั่วคราว

               ในปี พ.ศ. 2428 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกฮ่อได้รวมตัวก่อการร้าย กำเริบเสิบสานขึ้นอีกในมณฑลลาวพวนฝั่วซ้ายแมน้ำโขงและมีท่าทีจะรุนแรง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือไปทำการปราบปรามพวกฮ่อ ในเวลานั้นอำเภอบ้านผือยังไม่ปรากฎชื่อเพียงแต่ปรากฎชื่อเมืองโพพันลำ หรือเมืองญาคูลึมบองและเส้นทางลำห้วยโมงมีนายเส้นชื่อชุนวารีรักษา สังกัดเมืองหนองคายขึ้นการปกครองกับมณทลลาวพวน และกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้เดินทัพผ่านบ้านหมากแข้ง ไปทำการปราบปรามพวกฮ่อจนสงบ

               ภายหลังการปราบปรามฮ่อสงบแล้วไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศสต้องการลาว เขมร ญวณ เป็นอาณานิคม เรียกว่า "กรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)" ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงยอมเสียสละส่วนน้อยเพื่อรักษาประเทศไว้ จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ มีเงื่อนไขห้ามประเทศสยามตั้งกองทหารและป้อมปราการอยู่ในรัศมี 25 กิโลเมตร ของฝั่งแม่น้ำโขง

                กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงบัญชาให้ตั้งศูนย์มณฑลลาวพวน และตั้งกองทหารขึ้น ณ หมู่บ้านเดื่อหมากแข้ง จึงพอเห็นได้ว่าเมืองอุดรธานีได้อุบัติขึ้นโดยบังเอิญ เพราะเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศยิ่งกว่าเหตุทางการค้า การคมนาคมหรือเหตุผลอื่น ดังเช่นหัวเมืองสำคัญต่างๆ ในอดีต

               พ.ศ. ๒๓๒๗ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เกิดการอพยพและย้ายถิ่นครั้งยิ่งใหญ่ของไทยพวน จากทางตอนเหนือของประเทศลาว ขณะเดียวกันก็ทำสงครามกับพวก ฮ้อ (ผู้เฒ่าโบราณมักจะพูดให้ถูกหลานกลัว คือ ศึกฮ้อ) การทำสงกครามครั้งนี้ ไทยพวนสู้พลาง ถอยพลาง และหนีพลาง จนถึงกับเรียกการหนีครั้งนี้ว่า "อพยพ"(เนื่องจากคณะผู้อพยพมีทั้งผู้เฒ่า ผู้แก่ ลูกเล็ก เด็กแดง) ถึงกระนั้นก็ตามกองทัพฮ้อก็ไถ่ติดตามรังควานฆ่าฟันถึงเสียชีวิตจำนวนไม่น้อย   โดยการอพยพของไทยพวน การอพยพของไทยพวน แตกออกเป็นหลายกลุ่ม กลุ่มใหญ่บ้างกลุ่มน้อยบ้าง (สังเกตได้จากไทยพวนในประเทศไทย กระจายอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ถึง 17-18 จังหวัด ซึ่งไม่นับรวมที่อยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน) กลุ่มผู้อพยพที่สำคัญกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มของ"พ่อขุนจางวาง" ซึ่งจากการเล่าต่อกันมาว่า "พ่อขุนจางวาง" เป็นบุคคลที่มีบุคลิกลักษณะผู้นำรูปร่างสูง ใหญ่ สง่า น่าเกรงขาม มีความรับผิดชอบ เป็นประชาธิปไตย มีบารมีในกลุ่มผู้อพยพให้ความรักความเมตตาคณะ จึงได้รับความไว้วงใจให้เป็นผู้นำ (หัวหน้า) ขณะที่อพยพ และหนีการไล่ติดตามจากพวกฮ้อ ถึงพื้นที่ที่เป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีแม่น้ำ ลำธาร ห้วยหนอง คลองบึง และต้นไม้ พ่อขุนจาวางและคณะเห็นว่า บริเวณที่ราบกว้างใหญ่นี้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบการกสิกรรม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาการทำมาหากินในชีวิตประจำวัน ประกอบกับสถานที่ที่มีความสมบูรณ์นี้ มีป่าผือขึ้นหนาแน่น เหมาะแก่การหลบภัยจากข้าศึก ขณะเดียวกันเมื่อข้าศึกติดตามมาถึงบริเวณนี้ พ่อขุนจางวางจึงสั่งให้ผู้อพยพทั้งหลาย หาที่หลบซ่อนในป่าผือนั้น เมื่อข้าศึกไม่พบจึงยกทัพกลับ คณะผู้อพยพจึงตกลงพร้อมกันสร้างหลัก ปักฐาน ทำมาหากินบนพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์นี้ ต่อมาจึงเรียกชื่อชุมชนของคนว่า "บ้านผือ"

 การตั้งที่ว่าการอำเภอบ้านผือ

               เมื่อคณะผู้อพยพเห็นว่าที่ราบอันกว้างใหญ่นี้ เป็นทำเลที่มีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งนัก จึงสร้างหลักปักฐาน ทำมาหากินอย่างมีความสุขมีความรักความสามัคคี จนวันเวลาผ่านไปหลายปีพร้อมกับ ประชากรเพิ่มมากขึ้น ทางราชการจึงเข้ามามีบทบาท จัดตั้งระบบการปกครอง โดยยึดหลักแบบแผนจกทอง ถิ่นที่มีการพัฒนาแล้ว ทางราชการจึงตั้งเป็นอำเภอเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔47 และตั้งชื่อตามสภาพพื้นที่ ที่มีต้นผือขึ้นหนาแน่น และเป็นอนุสรณ์ที่ต้นผือ มีคุณต่อคณะผู้อพยพ จนทำให้ได้รับความปลอดภัยจากการไล่ติดตามของข้าศึกคือ "ฮ้อ" จึงให้ชื่อว่า"อำเภอบ้านผือ" โดยมี "พระบริบาลภูมิขตร์" เป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมา มี นายเบ้าทองทิพย์ เป็นกำนันคนแรก ด้านการศาสนา มี "พระครูทอน" เป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านผือรูปแรก และเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านผือ (จันทราราม) อีกตำแหน่งหนึ่ง

การย้ายที่ตั้งอำเภอบ้านผือ

               ขณะที่หลวงชนบทบำรุง เป็นนายอำเภอ ท่านพิจารณาว่า พื้นที่ที่เป็นที่ตั้งอำเภอขณะนั้นในอนาคตจะไม่สามารถย้ายเขตเมืองได้ เนื่องจากพื้นที่จำกัดและขาดแคลนน้ำ ทั้งการอุปโภคบริโภค จึงเสนอ ขอย้ายที่ตั้งอำเภอเพื่อไปสร้างที่ตั้งอำเภอหรือศูนย์ราชการใหม่ ด้านทิศตะวันออกของบ้านหัวคู เมื่อ พ.ศ.  2873 จนถึงปังจุบันนี้ สำหรับสถานที่ตั้งอำเภอเดิม ชาวบ้านเรียกว่า "สนาม" ต่อมาเป็นที่ตั้งโรงเรียนราษฎร์  ชื่อ "โรงเรียนไทยนิยม' เมื่อโรงเรียนยุบพื้นที่นี้จึงว่างเปล่าอยู่หลายปี จนเมื่อ พ.ศ.๒๕o๗  สำนักงาน เร่งรัดพัฒนาชนบท (ร.พ.ช. หรือ A.R.D.) ได้ขอใช้สถานที่นี้เป็นสำนักงานชั่วคราวใช้เป็นสถานที่พักเครื่องจักรกล เพื่อสร้างถนนไปยังบ้านโพธิ์ตาก จังหวัด หนองคาย จนแล้วเสร็จ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2520  กระทรวงสารารณสุข  ได้ขอใช้สถาน ที่นี้ สร้างเป็นโรงพยาบาล ชื่อโรงพยาบาลบ้านผือ มาจนถึงปัจจุบัน

        ในตำนานหลวงพ่อนาคปรากฏว่าก่อนนี้มีนายอำเภอเช่นกันตามข้อความว่า “ หลวงพ่อนาคถูกขโมยครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. 2395 องค์หลวงพ่อนาคได้หายไปจากวัดโพธิ์ชัยศรีเป็นครั้งแรก  คราวนั้นพระสงฆ์ และชาวบ้านมิได้ติดใจเอาความ  คงคิดว่าเป็นพระพุทธรูปธรรมดาหาย แล้วหายเลย เพราะไม่รู้จะติดตามเอาคืนได้ที่ไหน จึงได้ปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไปกับกาลเวลา 4 ปีต่อมา ซึ่งตรง กับ พ.ศ.2399  นายตุ้ยผู้ปกครองอำเภอบ้านผือ (นายอำเภอ)  ในสมัยนั้นได้ถึงแก่กรรมลง นายอวน   ศักดิ์ดี  ผู้ใหญ่บ้านแวง  ได้ไปช่วยงานศพของนายอำเภอ  ระหว่างที่กำลังสาละวนอยู่กับงาน  ต้องเดินขึ้นเดินลงที่บ้านนายอำเภอหลายเที่ยว  สายตาบังเอิญเหลือบไปเห็น พระนาคปรกสวยงามองค์หนึ่ง ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนโต๊ะหมู่บูชา จึงพยายามเดินเข้าไปชมใกล้ ๆ เพ่งพินิจสังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วน  จนแน่ใจว่าพระนาคปรกองค์นี้เป็นหลวงพ่อนาคของวัดโพธิ์ชัยศรี หลังจากงานศพนายอำเภอตุ้ยผ่านพ้นไป  นายอวนก็เรียกลูกบ้านมาประชุม  โดยได้เล่าเรื่องต่าง ๆ ที่ตนได้พบเห็นหลวงพ่อนาคให้ชาวบ้านฟัง  ในที่สุดทุกคนต่างพร้อมใจกันไปขอหลวงพ่อนาคกลับคืน  เมื่อครอบครัวนายอำเภอตุ้ยทราบเรื่องราวต่าง ๆ ว่าหลวงพ่อนาคองค์นี้ ได้มีผู้ขโมยขายให้นายอำเภอ จึงยินยอมคืนหลวงพ่อนาคให้ชาวบ้านแวงโดยดี  ผู้ใหญ่อวน และลูกบ้าน พากันดีใจ และอาราธนาหลวงพ่อนาคกลับไปประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัยศรีดังเดิม”

        และมีหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือประวัติเมืองท่าบ่อ จังหวัดหนองคายมีข้อความปรากฏว่า “ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านท่าบ่อเกลือเป็น เมืองท่าบ่อ เมื่อปี พ.ศ. 2438 มีพระกุประดิษฐ์บดีเป็นเจ้าเมืองตลอดชีวิต เขตเดิมมี "นายเส้น" (เป็นตำแหน่งคล้ายกับนายอำเภอและกำนัน) รวม 6 เส้น มีบรรดาศักดิ์เป็นขุน เช่น ขุนท่าบ่อบำรุง นายเส้นท่าบ่อ และขุนวารีรักษา นายเส้นน้ำโมง เป็นต้น จนกระทั่งเจ้าเมืองท่าบ่อถึงแก่อสัญกรรม จึงยุบเมืองท่าบ่อลงเป็น อำเภอท่าบ่อ และยุบนายเส้นท่าบ่อ น้ำโมง โพนสา ลงเป็นตำบลและแยกเป็น 10 ตำบลดังปัจจุบัน ส่วนอีก 3 เส้นก็ได้รับการยกฐานะและแยกออกไป คือ เส้นพานพร้าวเป็นอำเภอศรีเชียงใหม่ เส้นแก้งไก่เป็นอำเภอสังคม เส้นบ้านผือเป็นอำเภอบ้านผือและถูกโอนไปขึ้นกับเมืองอุดรธานี

               พิเคราะห์ตามข้อความที่ปรากฏในหนังสือประวัติหลวงพ่อนาควัดโพธิ์ชัยศรี บ้านแวง ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานีและในหนังสือประวัติเมืองท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เมื่อนำ พ.ศ.ที่ระบุมาเปรียบเทียบกันจะเห็นได้ว่า  มีผู้ปกครองเมืองบ้านผือมาก่อนแล้วคือเมื่อ พ.ศ. 2327พ่อขุนจางวาง                                                                   เมื่อ พ.ศ.2399 ชื่อนายตุ้ย ต่อมาอีก 9 ปีพ.ศ. 2438  มี "นายเส้น" (เป็นตำแหน่งคล้ายกับนายอำเภอ)ขุนวารีรักษา นายเส้นน้ำโมง และต่อมาอีก 48 ปี   มีหลักฐานว่า ที่ว่าการอำเภอบ้านผือ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2447 บริเวณบ้านถ่อน หมู่ 3 ตำบลบ้านผือ โดยมีพระบริบาลภูมิเขตร์ เป็นนายอำเภอคนแรกโดยมีหลักฐานปรากฏในประวัติสร้างเมืองอุดรธานีราชกิจจานุเบกษาดังนี้ว่า “เล่ม ๒๖ น่า ๑๒๐๙ ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๑๒๘ (พ.ศ.๒๔๕๓)   พระบริบาลภูมิเขตร์ ได้เก็บเงินรายนี้ไว้เปนเงินสำหรับบำรุง ครู ต่อไปผู้บริจาคทรัพย์ทั้งหลาย ขอพระราชทานถวายพระราชกุศลมีรายนามแลจำนวน เงิน แจ้ง ต่อไปนี้ พระบริบาลภูมิเขตร์ นายอำเภอ                       ¬๖๘   บาท

ที่ตั้งและอาณาเขต

              อำเภอบ้านผือตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

 ลักษณะทั่วไป

                เป็นที่ราบสูงเชิง เขาภูพาน ประกอบด้วยทุ่งนา ป่าไม้ ภูเขา พื้นที่เหมาะแก่การทำนา ทำไร่ ลำน้ำที่สำคัญที่หล่อเลี้ยงพื้นที่มีหลายสาย แต่เป็นสายเล็กๆ ที่สำคัญมีห้วยน้ำโมง หรือลำน้ำโมง ไหลแต่ภูเขาภูพานผ่านตำบลจำปาโมง ตำบลบ้านผือ ตำบลกลางใหญ่ ผ่านอำเภอท่าบ่อไปออกแม่น้ำโขง และมีลำน้ำสายเล็กอีกหลายสาย เช่น ลำน้ำฟ้า ลำน้ำงาว ลำน้ำซีด ลำน้ำสวย ห้วยคุก

สภาพพื้นที่ 

                อำเภอบ้านผือมีเทือกเขาภูพานเป็นเทือกเขาหินทราย เกิดในยุคที่โลกถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง (MESOZOIC - CRETACEOUS) เมื่อธารน้ำแข็งละลายและเคลื่อนตัวลงตามแรงดึงดูดของโลก เมื่อประมาณ 180 ล้านปีมาแล้ว เกิดการกัดกร่อนเทือกเขาภูพาน ส่วนนี้จึงเกิดเป็นเพิงหินรูปร่างแปลกๆ งดงาม เช่น ภูพระบาท หรือภูกูเวียนแต่เดิม ภูพระบาทเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยหินลาด ห้วยด่านใหญ่ ห้วยหินร่อง และห้วยนางอุสา ซึ่งไหลลงไปแม่น้ำโขงที่อำเภอท่าบ่อ ภูพระบาทมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 320 - 350 เมตร

               ความอุดมสมบูรณ์ ของต้นน้ำลำธาร ป่าไม้ และบริเวณที่ราบรอบๆ ภูเขา จึงเกิดมีชุมชนเข้าไปอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอยู่มากมายตามเพิงหินบนภูพาน ส่วนใหญ่ในอำเภอบ้านผือ ไม่ว่าจะเป็นภูพระบาท บ้านกลางใหญ่ พระพุทธบาทบัวบาน ภูสูง จนถึงอำเภอสุวรรณคูหา ต่อมาเมื่อมีศาสนาเข้ามานับแต่สมัยทวารวดี ไม่ว่ากระแสธารแห่งอารยธรรมจะมาจากสายแม่น้ำโขง หรือจากภายในก็ตาม อิทธิพลของวัฒนธรรมฮินดูเข้ามาสู่บริเวณนี้ บริเวณเพิงผาหลายแห่งถูกใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามความเชื่อของชุมชน  การปักเสมาเป็นการกำหนดเขตการกระทำสังฆกรรม ตำนานพระเจ้าเลียบโลกที่ปรากฏในความเชื่อของคนอีสานบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ไม่ว่าจะเป็นอาณาจักรล้านช้าง การจำหลักรูปพระพุทธรูปหินทรายที่เพิงผา ล้วนเป็นหลักฐานยืนยันถึงความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนบริเวณนี้ และการติดต่อเกี่ยวพันกับชุมชนอื่นในภูมิภาคเดียวกัน นอกจากจะเป็นอารยธรรมฮินดูและพุทธแล้ว อารยธรรมขอมก็ได้เข้ามามีอิทธิพลในแถบบ้านผือบนภูพระบาทเป็นอย่างมาก การสร้างประติมากรรมหินทรายนูนสูงที่ผนังถ้ำพระบนภูพระบาท การจำหลักหินทรายขนาดใหญ่เป็นรูปเทพเจ้า หรือเรื่องชาดก ภาพบุคคลที่พบที่พระพุทธบาทบัวบาน บ้านหนองกาลึม บ้านกาลึม ก็ตาม ล้วนแสดงถึงศิลปะสมัยลพบุรีเข้ามามีอิทธิพลในแถบนี้เขตอำเภอบ้านผือ บริเวณเทือกเขาภูพานมีการปักใบเสมา ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

               กลุ่มที่ 1 ไม่ปรากฏภาพจำหลัก เป็นการโกลนหินทรายปักล้อมรอบเพิงหินธรรมชาติ ไม่กำหนดรูปแบบแน่นอน บางหลักกลม บางหลักเหลี่ยม บางหลักแบน ขนาดความสูงไม่แน่นอน บางกลุ่มสูงมากกว่า 3 เมตร เช่น กลุ่มที่อยู่ที่กี่นางอุสา บางหลักเป็นแบบสี่เหลี่ยม ยอดมนกลมก็มี กำหนดรูปแบบตามพระพุทธรูปที่เพิงผาว่าเป็นสมัยทวารวดี

       กลุ่มที่ 2 อยู่ที่ราบเชิงเขาภูพาน มีลักษณะเป็นแบบแผ่นหิน มีความสูงมาก ฐานเป็นบัวคว่ำบัวหงาย เหนือขึ้นไปเป็นรูปจำหลักนูนต่ำ เป็นรูปพระโพธิสัตว์ประทับเหนืออาสน์อยู่ตรงกลาง ด้านข้าง 2 ด้าน จะมีอีก 2 องค์ นั่งเหนืออาสน์แต่อยู่ในระดับต่ำกว่าองค์กลาง ลักษณะเป็นศิลปลพบุรีตอนต้น ลักษณะเทวรูป หรือพระโพธิสัตว์มีเค้าหน้าทวารวดีท้องถิ่น

ประชากร 

                ประชากร ส่วน ใหญ่ของบ้านผือเป็นไทพวน อพยพจากแคว้นเชียงขวาง หรือทรานนินห์ มาตั้งรกรากตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น พวนกลางใหญ่ถูกต้อนมาตั้งแต่ครั้งศึกเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ และไม่ยอมลงไปอยู่ภาคกลาง ขอตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกลางใหญ่มาจนทุกวันนี้ อีกพวกอพยพ หรือถูกกวาดต้อนมาครั้งศึกฮ่อ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2428 - 2436 พวนพวกนี้จะตั้งถิ่นฐานที่อำเภอบ้านผือ บ้านหายโศก บ้านลาน บ้านม่วง บ้านค้อ บ้านเมืองพาน บ้านติ้ว บ้านกาลึม พวนพวกนี้อพยพมาจากเมืองแมด เมืองกาสี สบแอด เชียงค้อ และอีกพวก คือ พวนที่อพยพหาที่ทำกินจากอำเภอทุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์ มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านนาสีดา นอกจากนี่ยังมีพวกลาวเวียง (เวียงจันทน์) ที่อพยพเข้ามาอยู่รอบๆ กับพวน และไทอีสานอื่น ปัจจุบันมีพวกลาวจากอำเภอวังสะพุง มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านใหม่ บ้านกาลึม บ้านหนองกาลึม เข้ามาปะปน เกิดการประสมประสานทางวัฒนธรรม แต่วัฒนธรรมที่มั่นคงอันได้แก่ วัฒนธรรมพวน ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ พิธีกรรม และภาษา

               บ้านผือมิได้เป็นแต่เพียงแหล่งที่ตั้งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ความสำคัญของบ้านผือนั้น ยังเคยเป็นชุมชนที่ล้านช้างเข้ามามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก เคยอยู่ในอำนาจล้านช้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เคยเป็นเส้นทางเดินทัพของล้านช้าง และเป็นเส้นทางการปฏิวัติรัฐประหารของล้านช้างมาก่อน วัฒนธรรมของล้านช้างจึงมีอยู่มากมายในบ้านผือ บ้านกาลึมเคยเป็นที่เกิดของสังฆราชที่ยิ่งใหญ่ของล้านช้าง คือญาคูโพนเสม็ด (ญาคูลืมบอง) ชาวบ้านกาลึมเป็นลูกศิษย์ของญาคูลืมบอง ได้ไปบวชเรียนในอาณาจักรล้านช้าง คือเวียงจันทน์ และได้ช่วยให้เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร เจ้าชายล้านช้าง ได้ขึ้นเสวยราชเป็นพระเจ้าล้านช้าง เป็นผู้ก่อสร้างปฏิสังขรณ์ศาสนสถานมากมายในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ตั้งแต่เวียงจันทน์ขึ้นไปจนถึงนครจำปาศักดิ์ และเลยเข้าไปในแดนเขมร

               ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อทรงหลบราชภัยจากพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ที่ยกทัพเข้าตีเมืองเวียงจันทน์ หลวงพระบางได้ ก็ใช้เส้นทางจากเวียงจันทน์เข้าศรีเชียงใหม่ โพธิ์ตาก บ้านผือ และไปหลบซ่อนส้อมสุมกำลังพลที่สุวรรณคูหา ขอให้ดูลักษณะศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูป เสมา การจำหลัก เจดีย์ต่างๆ และยังปรากฏจารึกที่เป็นหลักฐานยืนยันได้อย่างดีว่า พระองค์ทรงประกาศกัลปนาที่บริเวณวัดถ้ำถวายแด่พระศาสนา การหลบลี้หนีพระราชภัยของ พระวอ พระตา ที่หลบหนีพระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ ก็อาศัยเส้นทางจากศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ มาบ้านผือ และเข้าไปตั้งชุมชนอยู่ที่หนองบัวลำภู หรือนครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้วบัวบาน เมื่อพระตาเสียชีวิตในการรบ พระวอจึงหนีไปอยู่ที่ดอนมดแดง อุบลราชธานี และถูกฆ่าที่ดอนมดแดง เป็นเหตุให้เจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพไปตีเวียงจันทน์ และได้เวียงจันทน์ไว้ในอำนาจแต่นั้นมา

           ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านท่าบ่อเกลือเป็น เมืองท่าบ่อ เมื่อปี พ.ศ. 2438 มีพระกุประดิษฐ์บดีเป็นเจ้าเมืองตลอดชีวิต เขตเดิมมี "นายเส้น" (เป็นตำแหน่งคล้ายกับนายอำเภอและกำนัน) รวม 6 เส้น มีบรรดาศักดิ์เป็นขุน เช่น ขุนท่าบ่อบำรุง นายเส้นท่าบ่อ และขุนวารีรักษา นายเส้นน้ำโมง เป็นต้น จนกระทั่งเจ้าเมืองท่าบ่อถึงแก่อสัญกรรม จึงยุบเมืองท่าบ่อลงเป็น อำเภอท่าบ่อ และยุบนายเส้นท่าบ่อ น้ำโมง โพนสา ลงเป็นตำบลและแยกเป็น 10 ตำบลดังปัจจุบัน ส่วนอีก 3 เส้นก็ได้รับการยกฐานะและแยกออกไป คือ เส้นพานพร้าวเป็นอำเภอศรีเชียงใหม่ เส้นแก้งไก่เป็นอำเภอสังคม เส้นบ้านผือเป็นอำเภอบ้านผือและถูกโอนไปขึ้นกับเมืองอุดรธานี

               อำเภอบ้านผือ สำเนียงภาษาท้องถิ่นชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านปรือ ด้วยมีเรื่องเล่าสืบต่อมาว่าเดิมทีบริเวณแห่งนี้มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งชื่อ หนองปรือ เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ปัจจุบันก็คงมีอยู่ แต่ขนาดเล็กลงไป ประชาชนในบริเวณนี้และใกล้เคียงได้อาศัยน้ำจากหนองนี้เป็นประจำ เห็นจะเป็นประโยชน์ด้วย หนองน้ำนี้มีประโยชน์ต่อชาวบ้าน การตั้งหมู่บ้านจึงได้ตั้งตามชื่อหนองว่า หนองปรือ นานวันเสียงพูดก็เพี้ยนเป็น บ้านผือ จนปัจจุบัน ตามหลักฐานปรากฏว่า ที่ว่าการอำเภอบ้านผือ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2447 บริเวณบ้านถ่อน หมู่ 3 ตำบลบ้านผือ โดยมีพระบริบาลภูมิเขตต์ เป็นนายอำเภอคนแรก อยู่ได้ 18 ปี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2473 ได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านศรีสำราญ หมู่ 8 ตำบลบ้านผือ เหตุที่ย้ายเนื่องมาจากบริเวณดังกล่าวขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค โดยก่อสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอบ้านผือเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ ซ่อมแซมเมื่อ พ.ศ. 2513 จนกระทั่งวันที่ 12 ตุลาคม 2535 จึงได้เปิดใช้อาคารหลังปัจจุบัน

  • วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2464 โอนพื้นที่ตำบลโคกคอน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ไปขึ้นกับ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย[1]
  • วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2468 ยุบตำบลข้าวสาร และแยกเอาหมู่บ้านไปรวมขึ้นกับตำบลจำปาโมง และตำบลบ้านเม็ก[2]
  • วันที่ 16 พฤษภาคม 2469 โอนพื้นที่ตำบลกุดจับ อำเภอบ้านผือ ไปขึ้นกับ อำเภอหมากแข้ง[3]
  • วันที่ 20 มีนาคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 8,10,11 (ในขณะนั้น) ของตำบลเขือน้ำ ไปขึ้นกับตำบลบ้านเม็ก และโอนพื้นที่หมู่ 2,7 (ในขณะนั้น) ของตำบลจำปาโมง ไปขึ้นกับตำบลบ้านผือ[4]
  • วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2496 ตั้งตำบลนายูง แยกออกจากตำบลน้ำโสม[5]
  • วันที่ 26 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านผือ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านผือ[6]
  • วันที่ 16 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลข้าวสาร แยกออกจากตำบลบ้านเม็ก[7]
  • วันที่ 4 ตุลาคม 2509 ตั้งตำบลหนองแวง แยกออกจากตำบลน้ำโสม[8]
  • วันที่ 12 พฤษภาคม 2512 แยกพื้นที่ตำบลน้ำโสม ตำบลหนองแวง และตำบลนายูง อำเภอบ้านผือ มาตั้งเป็นกิ่งอำเภอน้ำโสมขึ้นกับอำเภอบ้านผือ[9][10]
  • วันที่ 5 สิงหาคม 2512 ตั้งตำบลหายโศก แยกออกจากตำบลบ้านผือ ตั้งตำบลคำบง แยกออกจากตำบลเขือน้ำ[11]
  • วันที่ 6 ตุลาคม 2513 ตั้งตำบลนางัว แยกออกจากตำบลหนองแวง และตำบลน้ำโสม[12]
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน 2514 ตั้งตำบลนาแค แยกออกจากตำบลนายูง[13]
  • วันที่ 16 มกราคม 2516 จัดตั้งสุขาภิบาลนางัว ในท้องที่บางส่วนของตำบลนางัว[14]
  • วันที่ 28 มีนาคม 2517 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอน้ำโสม อำเภอบ้านผือ เป็นอำเภอน้ำโสม[15]
  • วันที่ 16 ตุลาคม 2518 จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอบ้านผือ กิ่งอำเภอกุดจับ อำเภอเมืองอุดรธานี และอำเภอหนองวัวซอ[16]
  • วันที่ 10 ตุลาคม 2529 ตั้งตำบลคำด้วง แยกออกจากตำบลกลางใหญ่[17]
  • วันที่ 13 กันยายน 2534 ตั้งตำบลหนองหัวคู แยกออกจากตำบลคำบง[18]
  • วันที่ 17 กันยายน 2536 ตั้งตำบลบ้านค้อ แยกออกจากตำบลบ้านผือ[19]
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลหนองแวง แยกออกจากตำบลข้าวสาร[20]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบ้านผือ เป็นเทศบาลตำบลบ้านผือ[21]ด้วยผลของกฎหมาย
  • foot picture 2